ไมค์ประชุมไร้สาย : 8 ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อ

ชุดประชุมไร้สาย

ในทุกวันนี้ในโลกที่กำลังก้าวล้ำไปด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยไม่ว่าเรื่องใดก็ตามที่เกี่ยวพันกับการดำเนินชีวิตของเรา ล้วนมีเรื่องเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ในด้านระบบเสียงก็เหมือนกัน เราจะเห็นได้ว่าระบบเสียงห้องประชุมที่มีในปัจจุบันมีการใช้งานหลากหลายประเภท ไมโครโฟนชุดประชุมก็เหมือนกันมีให้เลือกหลายชนิด ทั้งแบบไมค์ประชุมมีสาย และ ไมค์ประชุมไร้สาย ไม่ว่าจะเป็นอนาล็อคหรือดิจิทัล ซึ่งทุกแบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ในที่นี้จะกล่าวถึงชุดประชุมแบบไร้สายที่กำลังกลายเป็นที่นิยมอย่างยิ่งในห้องประชุมที่ต้องการเทคโนโลยีที่ทันสมัย

ในส่วนของระบบไมค์ประชุมไร้สายนั้น ข้อดีของชุดประชุมระบบนี้คือ ติดตั้งง่ายรวดเร็ว เคลื่อนย้ายสะดวก ขยายหรือเพิ่มเติมระบบได้ง่าย สามารถจัดประชุมได้ในทุกๆสถานที่โดยไม่มีผลกระทบกับสถานที่นั้นๆ เช่นการเดินสาย การเคลื่อนย้าย อุปกรณ์ต่างๆ ทำให้ดูมีระเบียบเรียบร้อย ไม่มีสายระโยงระยางมาให้เกะกะสายตา

“ส่วนข้อจำกัดหรือข้อเสียส่วนใหญ่มักจะเป็นระบบการเชื่อมต่อความเสถียรของสัญญาน รัศมีครอบคลุมการรับการส่งสัญญาณ การรบกวนของสัญญานอื่นๆในบริเวณใกล้เคียง”

หากท่านกำลังตัดสินใจที่จะติดตั้งระบบเสียงห้องประชุมในระบบไร้สายนั้น  ควรให้ความสนใจกับองค์ประกอบสำคัญดังต่อไปนี้เป็นอย่างยิ่ง เรามาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรสำคัญบ้างที่จะตัดสินใจซื้อชุดประชุมแบบไร้สาย

8 สิ่งสำคัญก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อ ชุดไมค์ประชุมไร้สาย

1. เลือกเทคโนโลยีไร้สายที่เหมาะสมกับการใช้งาน

ด้วยในปัจจุบันชุดประชุมแบบไร้สายนั้นมีเทคโนโลยีที่เป็นตัวแปรสำคัญในการระบบประชุมแบบไร้สาย คือ

  • แบบ RF (Radio Frequency) ในแบบความถี่คลื่นวิทยุ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป การใช้งานที่ง่ายและขยายได้วงกว้าง ทำให้สามารถรองรับกับระบบใหญ่ๆได้ แต่ข้อเสียของมันคือ โอกาสที่คลื่นสัญญาณอื่นจะเข้ามาแทรกและรบกวนก็มีมากเช่นเดียวกัน ฉะนั้นเราจึงจะต้องระวังคลื่นความถี่บริเวณใกล้เคียง ซึ่งในปัจจุบันระบบไมค์ประชุมไร้สายได้มีการพัฒนาการเลือกใช้คลื่นความถี่ RF ที่สูงขึ้นจากเดิม(ย่าน UHF)โดยมีทั้งแบบ 2.4 GHz และ 5 GHz สามารถ Scan หาความถี่อัตโนมัติที่อยู่ใกล้เคียงเพื่อหนีไม่ให้ทับซ้อนและมารบกวนกันได้   (เช่นในระบบชุดประชุมไร้สายของ Televic ที่จะมีจุดเด่นในเรื่องของการเลือกช่องสัญญาณ RF ในการใช้งานที่มีประสิทธิ์ภาพสูง (ไมค์ประชุมไร้สาย Televic Confidea G3) สามารถเลือกย่านการใช้งานได้ทั้ง 2.4 GHz และ 5 GHz ซึ่งระบบของนี้สามารถเลือกดูย่านที่ปลอดภัยในการใช้ได้โดยในตัวอุปกรณ์สามารถสแกนดูย่านที่มีคนใช้อยู่และเลือกที่จะหลบย่านที่ถูกใช้นั้นได้ แถมการเลือกย่านในการใช้งานสามารถเลือกได้มากกว่า 1 ย่าน โดยถ้าย่านที่ใช้งานอยู่ถูกกวนอุปกรณ์จะย้ายไปใช้ย่านอื่นที่เลือกไว้แบบอัตโนมัติ โดยไม่ทำให้การประชุมขาดความต่อเนื่อง)
  • แบบ IR อินฟาเรด คือการปล่อยคลื่นสัญญาณอินฟาเรดให้ไมโครโฟนชุดประชุมซึ่งมันจะจำกัดอยู่ในวงแคบๆเฉพาะที่เครื่องส่งกระจายไปถึงเท่านั้นหากต้องการขยายวงให้กว้างมากขึ้นต้องเพิ่มชุดการกระจายของคลื่นอินฟาเรดแล้วก็ติดตั้งให้รัศมีครอบคลุมพื้นที่ เช่น ไมค์ประชุมไร้สาย TOA TS-800/TS-900 Series คราวนี้ก็ขึ้นอยู่ว่าเราจะเลือกใช้แบบใด แต่ละแบบก็มีข้อดีข้อด้อยต่างกัน ควรศึกษาข้อดีข้อด้อยของทั้งสองแบบ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดเหมาะสมกับความต้องการในงานนั้นๆ

ชุดประชุมไร้สาย_1

2. ระบบการจ่ายไฟการสำรองไฟ (แบตเตอรี่)

จะเห็นได้ว่าการทำงานของระบบชุดประชุมแบบไร้สายเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับแบตเตอรี่ การลงทุนระบบชุดไมค์ประชุมไร้สายจึงจำเป็นที่จะต้องลงทุนเรื่องระบบการจ่ายไฟให้กับชุดประชุมด้วย ต้องมีการคำนวนว่าเราจะประชุมกันยาวนานต่อเนื่องกันเป็นเวลาเท่าไหร่ แล้วแบตเตอรี่แต่ละก้อนนั้นสำรองไฟได้นานขนาดไหน ยกตัวอย่างเช่นเราจะประชุมกันต่อเนื่องนาน 8 ชั่วโมง แต่แบตเตอรี่สามารถสำรองไฟได้แค่ 6 ชั่วโมงเราก็ต้องซื้อแบตเตอรี่สำรองเพิ่มก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกในส่วนของแบตเตอรี่ หากงบประมาณไม่เพียงพอในส่วนนี้แนะนำให้ใช้ชุดประชุมแบบมีสายก็จะประหยัดกว่า

3. คุณภาพเสียง (ความเป็นธรรมชาติของเสียง)

เมื่อเราจำเป็นต้องในการติดตั้งระบบชุดไมค์ประชุมแบบไร้สายนั้นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการถ่ายทอดเสียงจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งใช้การถ่ายทอดผ่านสัญญาณในอากาศ โดยระบบไร้สายนั้นจะมีตัวรับ ตัวส่งสัญญาน เหมือนการส่งสัญญานคลื่นวิทยุ ถ้าตัวรับตัวส่งคุณภาพไม่ดีหรือการวางตำแหน่งที่ไม่ดีอาจทำให้การรับการส่งมีปัญหา คลื่นแทรกรบกวน ทำให้การได้ยินผิดเพี้ยนไปจากสิ่งที่ควรจะเป็น อาจจะทำให้การสื่อสารผิดวัตถุประสงค์ เพราะฉะนั้นจำเป็นเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมีการถ่ายทอดสัญญานเสียงที่เป็นธรรมชาติ และไม่ทำลายบรรยากาศในการประชุม

4. สามารถใช้ร่วมกับระบบอื่นเวลามีปัญหาเช่น Lan ได้หรือไม่

ตามที่เราพบส่วนใหญ่ ความถี่คลื่นวิทยุนั้นจะทำงานได้ดีมีความยืดหยุ่นมากกว่า สามารถปรับเปลี่ยนคลื่นความถี่ที่เหมาะสมกับสถานที่จัดการประชุมนั้นๆได้ง่าย แต่ก็อาจมีคลื่นอื่นๆในบริเวณใกล้เคียงสอดแทรกมารบกวนได้ตลอดเวลา ดังนั้นหากมีปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นหรือในกรณีที่ระบบรับส่งมีปัญหาฉุกเฉินเกิดขึ้นสามารถใช้ระบบสาย LAN แทนได้ เพื่อให้การทำงานของระบบไร้สายสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

5.วางแผนจัดการระบบได้ระหว่างการประชุม

ตรวจดูให้แน่ใจว่า ไม่มีระบบอื่นมารบกวนสัญญานในบริเวณสถานที่จัดการประชุม หากมีเราต้องสามารถปรับคลื่นความถี่นั้นให้เปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ตรวจดูความเรียบร้อยของแบตเตอรี่ที่จะใช้ระหว่างการประชุม เตรียมแบตเตอรี่สำรองเผื่อการประชุมมีความจำเป็นต้องใช้เวลามากกว่าที่กำหนดไว้ และสามารถปิดเปิดไมโครโฟนได้จากระยะไกล

6. มีระบบการจัดการที่ดี

ในการทำงานของระบบไมค์ประชุมไร้สายนั้นต้องมีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆมากมายที่ควบคุมโดยซอฟแวร์ การเชื่อมต่อต้องง่ายและไม่ซับซ้อน เพื่อสามารถแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที

7. สิ่งทีควรจะต้องศึกษา

ต้องทำความเข้าใจการทำงานและข้อจำกัดของต่างๆของระบบการประชุมแบบไร้สายให้ครบถ้วนอย่างถ่องแท้ ศึกษาคู่มือการใช้งาน เพื่อจะป้องกันการเกิดปัญหาต่างๆที่จะตามมา

8. บริการหลังการขาย

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดในการลงทุนคือการให้บริการหลังการขายของผู้จำหน่ายสินค้า เพราะเวลาเกิดปัญหาต่างๆ คุณสามารถขอความช่วยเหลือหรือข้อแนะนำเบื้องต้นจากผู้ขายได้อย่างทันท่วงที

ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งให้คุณได้ตัดสินใจในการลงทุนระบบ ไมค์ประชุมไร้สาย หากไม่แน่ใจและไม่สามารถตัดสินใจได้แนะนำให้ปรึกษากับตัวแทนจำหน่ายที่มีประสบการณ์ด้านการวางระบบชุดประชุมเป็นการดีที่สุด

X