ระบบเสียงตามสายในโรงเรียน มหาวิทยาลัย และสถานศึกษา

หากจะกล่าวถึงสถานที่ๆผ่านเข้ามาในชีวิตของพวกเราในช่วงวัยเยาว์ของทุกๆคน คงหนีไม่พ้นโรงเรียน หรือถ้าเรียกให้เป็นทางการนั่นก็คือ สถานศึกษา นั่นเอง ซึ่งแบ่งออกได้เป็น โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นของรัฐบาลหรือเอกชน สิ่งหนึ่งที่นอกจากสถานศึกษาเหล่านี้จะจัดการเรื่องของการศึกษานั่นก็คือ เรื่องของการบริหารจัดการความเป็นระเบียบเรียบร้อยของผู้ที่เข้ามาศึกษาในสถานศึกษานั้นๆ เมื่อมีผู้คนจำนวนมากมาอยู่ร่วมกัน แน่นอนว่าสิ่งที่จะสามารถสื่อสารให้ทุกคนได้ยินและรับข้อความได้ถูกต้องไปในทางเดียวกัน นั่นก็คือ “ระบบเสียง”

ในส่วนของสถานศึกษานั้น น่าจะแบ่งส่วนของระบบเสียงได้ตามการใช้งานนั่นก็คือ ระบบเสียงประกาศโดยรวม ระบบเสียงสำหรับห้องเรียน และ ระบบเสียงสำหรับหอประชุมหรือโรงยิมเนเซียม เดี๋ยวเรามาดูกันทีละเรื่องกันครับ

ระบบเสียงประกาศสำหรับสถานศึกษา

การเลือกลำโพง

ระบบเสียงประกาศภายในสถานศึกษานั้น ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอันดับต้นๆเลยก็ว่าได้ การสื่อสารเพื่อให้รับรู้กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นภายในสถานศึกษานั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง และที่สำคัญเสียงต้องไม่ไปรบกวนผู้ที่กำลังเรียนอยู่

ฉะนั้นการออกแบบระบบเสียงประกาศสำหรับสถานศึกษานั้น นอกจากต้องให้เสียงดังครอบคลุมทุกพื้นที่ของสถานศึกษาแล้ว เสียงที่ได้ยินต้องชัดและไม่รบกวนพื้นที่โดยรอบสถานศึกษา บางครั้งสถานศึกษาของเรานั้นอยู่ในเขตชุมชน และหากว่าเราวางระบบเสียงผิดพลาด เสียงจากสถานศึกษาของเรานั้นจะไปรบกวนยังชุมชนข้างเคียง และก็จะก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงโดยไม่จำเป็น

ประการสำคัญที่จะกำหนดให้เสียงอยู่ในพื้นที่ๆต้องการนั้นก็คือ การเลือกลำโพงให้เหมาะสมกับพื้นที่ หากเป็นพื้นที่โล่งแจ้งก็สมควรเลือกลำโพงที่สามารถกระจายเสียงได้ครอบคลุมพื้นที่ได้มากที่สุดและที่สำคัญต้องกันน้ำกันฝุ่นได้ด้วย

มุมกระจายเสียงของลำโพงจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น บริเวณที่ต้องการประกาศนั้นเป็นพื้นที่ยาวและแคบ เราก็สมควรเลือกมุมกระจายเสียงของลำโพงที่แคบ เพื่อควบคุมการกระจายเสียงไม่ให้ไปสะท้อนกับพื้นผิวผนังด้านข้าง อันจะก่อให้เกิดเสียงสะท้อนหรือเสียงก้องตามมาแล้วจะทำให้เสียงจริงนั้นขาดความคมชัด

อีกอย่างมุมการกระจายเสียงของลำโพงที่แคบทำให้เสียงที่ส่งไปนั้นส่งไปได้ไกลมากยิ่งขึ้น ความคมชัด ณ จุดที่ไกลที่สุดก็จะคมชัดกว่าลำโพงที่มุมกระจายเสียงกว้าง

จำเป็นต้องแยกโซนประกาศ

เนื่องจากในสถานศึกษานั้นประกอบไปด้วยหลายๆแผนก และหลายๆคณะ หากเราแยกโซนประกาศได้อย่าชัดเจน การบริหากจัดการก็จะยิ่งง่ายมากขึ้น อย่างเช่น หากเราต้องการประกาศข่าวสารเฉพาะให้คณะนิเทศศาสตร์ทราบ เราก็เลือกโซนเฉพาะตึกที่เป็นของคณะนิเทศศาสตร์เท่านั้น เสียงก็จะไม่ไปรบกวนการเรียนการสอนของคณะอื่นๆ

หรือยกตัวอย่างเช่นโรงเรียนประถมหรือมัธยม อาจารย์ผู้สอนติดราชการในคาบของนักเรียนชั้น ม.3/2 ทางโรงเรียนมีข้อมูลอยู่แล้วว่าตอนนี้นักเรียนอยุ๋ที่ห้องไหน ตึกที่เท่าไหร่ ก็สามารถประกาศเฉพาะตึกหรือห้องเรียนนั้นๆได้ ก็จะไม่เกิดความรำคาญต่อผู้อื่นที่กำลังเรียนอยู่
โดยส่วนใหญ่แล้วโรงเรียนมักจะประกาศเป็นโซนเดียวแล้วได้ยินทั้งโรงเรียน อีกทั้งยังเผื่อแผ่ไปยังชุมชนข้างๆอีกด้วย อันจะเป็นการรบกวนซึ่งกันและกัน


ระบบเสียงหอประชุมและโรงยิมเนเซียม

หอประชุมสถานศึกษานั้น ถือได้ว่าเป็นศูนย์รวมทั้งนักเรียนนักศึกษา ครูอาจารย์เลยก็ว่าได้ และการออกแบบอาคารของหอประชุมนั้นมักจะเหมือนกันเกือบทั้งประเทศที่เป็นโรงเรียนของรัฐบาล และปัญหาที่พบบ่อยมากที่สุดนั่นก็คือ ความก้องของเสียง

เนื่องจากโดยส่วนใหญ่แล้วอาคารหอประชุมนั้นมักจะออกแบบมาให้ใช้งานอย่างเอนกประสงค์ ทั้งการประชุมและเล่นกีฬาต่างๆ

หากเราใช้วัสดุที่ซับเสียงทั้งหมด เสียงก้องก็จะหายไปแต่ความมีอรรถรสในการเล่นกีฬาก็จะหายไปด้วย ดังนั้นการออกแบบระบบเสียงจึงจำเป็นต้องออกแบบมาให้รองรับการทำงานทั้งหมดที่กล่าวมา

ความดังที่เหมาะสม

แน่นอนว่าเมื่อคนมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เสียงพูดคุยก็จะดังเพิ่มขึ้น บวกกับเสียงแอร์หรือพัดลมและระบบระบายอากาศก็ดี เมื่อรวมกันแล้วจะมีเสียงที่ดังมาก อย่างน้อยก็คงมี 90dB เสียงพวกนี้เราเรียกมันว่า Noise Floor หรือเสียงรบกวนพื้นฐานที่เราต้องคำนึงถึงเป็นอับดับแรกๆ ฉะนั้นหากเราจะออกแบบระบบเสียงก็ควรจะต้องให้มีความดังมากกว่าเสียงรบกวนข้างต้นอย่างน้อย 10dB หากเสียงรบกวนมีความดัง 90dB ระบบเสียงของเราก็ควรจะมีความดังไม่น้อยกว่า 100dB

ยิ่งหากเป็นโรงยิมเนเซียมด้วยแล้วเวลาคนเชียร์กีฬามักจะตะโกนเสียงดัง เราก็จำเป็นต้องเผื่อระบบเสียงให้ดังขึ้นไปอีกอย่างน้อยต้องมากกว่า 105dB หากเรารู้อย่างนี้ก็สามารถคำนวนได้ว่าต้องใช้ลำโพงกี่ใบ รุ่นไหน และเพาเวอร์แอมป์ทั้งหมดกี่วัตต์

การเลือกลำโพง

เมื่อหอประชุมมีความก้องของเสียงมาก อย่างแรกเลยก่อนที่เราจะเลือกลำโพงนั่นก็คือ การวัดและวิเคราะห์ห้อง โดยการเก็บตัวอย่างของเสียงในห้องนั้นๆ โดยโปรแกรมวัดเสียง แล้วนำมาจำลองด้วยโปรแกรมออกแบบระบบเสียงเพื่อจะดูค่าต่างๆ เช่น RT60(ค่าความก้องของเสียง), STI (ค่าความคมชัดของเสียง) เพื่อความแม่นยำในการออกแบบและเลือกลำโพงมาใช้งาน หากว่าไม่สามารถที่จะปรับแก้ Acoustic ได้ ซึ่งเป็นไปได้ยากเพราะความหลากหลายในการใช้งานของห้อง

ยิ่งห้องที่มีความก้องของเสียงมากเราก็ควรที่จะเลือกลำโพงที่มีมุมกระจายเสียงที่แคบ เพื่อลดเสียงที่ไปสะท้อนกับผนังด้านต่างๆของเสียง และควรที่จะมีจำนวนลำโพงเยอะมากพอ เพื่อที่จะให้เสียงกระจายได้ทั่วถึงผู้ฟัง โดยไม่ต้องเร่งเสียงลำโพงให้ดังจนเกินไป เพราะหากลำโพงจำนวนน้อยๆ เรายิ่งต้องเร่งเสียงให้ดังขึ้นเพื่อที่จะให้ผู้ฟังด้านหลังนั้นได้ยินเสียงที่ชัดเจน เมื่อเร่งเสียงดังขึ้นปัญหาที่ตามมานั่นก็คือเสียงสะท้อนที่มากขึ้นตามมาด้วย

นี่คือแนวความคิดบางส่วนในการออกแบบระบบเสียงสำหรับสถานศึกษา ในความเป็นจริงแล้วมีรายละเอียดที่เยอะมาก หากมีข้อสงสัยประการใด ติดต่อมาได้ที่ บริษัทมิวสิคสเปซ จำกัด เรายินดีให้คำปรึกษาและบริการอย่างมืออาชีพ

X