PRODUCTS

ระบบเสียงเบื้องต้น

          หากจะกล่าวถึงระบบเสียงว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง นั่นคงเป็นสิ่งที่จะให้ตอบได้ทั้งหมดก็คงยากมาก ทั้งนี้ก็เพราะ ขอบเขตของระบบที่มีสำหรับการใช้งานที่แตกต่างกันนั้นมีมากมายมหาศาล ไม่ว่าจะเป็น ระบบเสียงสำหรับดูหนัง ฟังเพลงที่บ้าน ระบบเครื่องเสียงในร้านอาหาร ระบบเสียงในผับ ระบบเสียงประกาศตามสาย ไปจนถึง ระบบเครื่องเสียงสำหรับดนตรีสดในงานคอนเสิร์ตตั้งแต่ขนาดเล็ก ไปจนถึงเฟสติวอลขนาดใหญ่ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ระบบเสียงอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดนั้นล้วนมีพื้นฐานอยู่บนแนวคิดง่าย ๆ แบบเดียวกัน        ก็คือ ในการนำคลื่นเสียงมาแปลงให้เป็นกระแสไฟฟ้าและจัดการตามที่ต้องการ จากนั้นแปลงกลับเป็นคลื่นเสียง ดังนั้นแล้ว อุปกรณ์หลัก ๆ ในระบบเสียงนั้น จึงมีเพียงสองประเภทคือ

     – ทรานดิวเซอร์ เป็นอุปกรณ์ที่แปลงพลังงานจากรูปแบบหนึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง โดยในระบบเสียงมีอยู่สองทรานสดิวเซอร์ก็คือไมโครโฟน (ทำหน้าที่แปลงพลังงานเสียงเป็นพลังงานไฟฟ้า) ลำโพง (ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเสียง)
     – แอมปลิฟายเออร์ (Amplifier) หรือมักจะเรียกกันง่าย ๆ ว่าแอมป์ (Amp) คืออุปกรณ์ที่ส่วนใหญ่ทำการเปลี่ยนหรือเพิ่มกว้างของคลื่นเสียงซึ่งก็คือความดังของสัญญาณหรือแอมปลิจูดให้มากขึ้นนั่นเอง

 

ขั้นตอนการทำงานของระบบเสียง

   สามารถแบ่งเป็นขั้นตอนได้ดังนี้คือ
  •  กระบวนการเริ่มต้นด้วยแหล่งกำเนิดเสียง (เช่น เสียงมนุษย์) ซึ่งสร้างคลื่นเสียง (พลังงานเสียง)
  • คลื่นเหล่านี้จะถูกทรานดิวเซอร์ซึ่งก็คือไมโครโฟน แปลงสัญญาณให้เป็นพลังงานไฟฟ้า
  • สัญญาณไฟฟ้าที่แปลงมาจากไมโครโฟนจะอ่อนมาก จึงต้องป้อนไปยังเครื่องขยายเสียง เพื่อขยายสัญญาณ
  • ขั้นตอนสุดท้าย ทรานดิวเซอร์อีกตัว ซึ่งก็คือลำโพงจะแปลงสัญญาณไฟฟ้ากลับเป็นคลื่นเสียงที่หูของ
    มนุษย์ได้ยินนั่นเอง
Audio  Systems – ระบบเครื่องเสียง
               เราเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของแบรนด์ชั้นนำ กับประสบการณ์กว่า 40 ปี
ของทีมงานผู้ชำนาญการในระบบเครื่องเสียงห้องประชุม เราให้บริการออกแบบ
และติดตั้งอุปกรณ์เครื่องเสียงด้วยทีม Sound Engineer มืออาชีพที่พร้อมตอบโจทย์
ความต้องการในการใช้สอยตามบริบทของห้องประชุมในทุกลักษณะ เราให้บริการระบบเสียง
ที่ครบวงจร อาทิ ระบบกระจายเสียง  ระบบ Mixer, Controller, ระบบไมโครโฟนห้องประชุม
ลำโพงห้องประชุม สำหรับการใช้งานตั้งแต่ เครื่องเสียงห้องประชุมเล็ก เครื่องเสียงห้องประชุมขนาดใหญ่ 
เครื่องเสียงห้องสัมมนา  เครื่องเสียงห้องจัดเลี้ยง เครื่องเสียงห้องเทรนนิ่ง เราเป็นตัวแทนขายของ
แบรนด์เครื่องชั้นนำระบบเสียงเช่น เครื่องเสียง BOSE, เครื่องเสียง QSC, เครื่องเสียงTOA, เครื่องเสียง YAMAHA 
 

อุปกรณ์ทางด้าน เครื่องเสียงเบื้องต้น จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆดังต่อไปนี้

 
 

1. ภาคอินพุท ( INPUT ) ประกอบด้วยอะไรบ้าง

อุปกรณ์ประเภทนี้ทำหน้าที่เป็นแหล่งต้นกำเนิดเสียง หรือ (Source) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งต้นกำเนิดเสียงหรือ (Source) เสียง เพื่อส่งสัญญาณเสียงต่อไปยังอุปกรณ์ประเภทปรุงแต่งเสียง และขยายเสียง เช่น เครื่องเล่นซีดี, วีซีดี, คอมพิวเตอร์, มีเดียร์เพลเยอร์ต่างๆ

เช่น เครื่องเล่นซีดี ,คอมพิวเตอร์ ,MP3 เพลเยอร์และมัลติเพลเยอร์ต่างๆ ทั้งนี้ก็จะรวมถึงอุปกรณ์ประเภท ไมโครโฟนและเครื่องดนตรีด้วย

2. ภาคโปรเซสเซอร์ Processor หรือภาคประมวลผล

ประกอบด้วย เช่น อีควอไลเซอร์, มิกเซอร์ คอมเพรสเซอร์ ครอสโซเวอร์ เอฟเฟคแต่งเสียงอื่นๆ และคอนโทรลเลอร์ต่างๆ

LD Systems VIBZ 8 DC | มิกเซอร์ 8 Channel with DFX and Compressor ศูนย์รวมเครื่องเสียง ไมโครโฟน มิกเซอร์ เครื่องขยายเสียง ตู้ลำโพง ลำโพงติดเพดาน ออกแบบระบบเสียง

Mixer มิกเซอร์

ทำหน้าที่รวมสัญญาณเสียงต่างๆเข้าด้วยกัน แล้วส่งสัญญาณออกไปหาอุปกรณ์อื่น หรือเครื่องขยายเสียงนั่นเอง

EQ หรืออีควอไลเซอร์

ทำหน้าที่ปรับแต่งเสียง บูสหรือคัดความถี่เสียง

Compressor

Compressor คอมเพรสเซอร์

มีหน้าที่บีบอัดสัญญาณเสียงรักษาระดับสัญญาณเสียงไม่ให้เกินที่เรากำหนดไว้

 

Crossover ครอสโซเวอร์

ทำหน้าที่แบ่งความถี่เสียง เช่น เสียงทุ้ม เสียงกลาง เสียงแหลม

 

Effect เอฟเฟค

สำหรับนักร้องและสำหรับเครื่องดนตรี และเครื่องปรุงแต่งเสียงอื่นๆ เช่น (Controller) คอนโทรลเลอร์ต่างๆก็นับว่าอยู่ในภาคประมวลผลเช่นกัน

3. ภาคเอ้าพุท OUTPUT ประกอบด้วย

10 อับดับ แอมป์ยอดฮิต แบรนด์ที่นำเข้าในไทย | อัพเดท 2019!!

 

เครื่องขยายเสียงหรือเพาเวอร์แอมป์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น โดยทั่วไป เครื่องขยายเสียงจะรับสัญญาณไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดสัญญาณ เช่น เครื่องเล่น CD, เครื่องเล่นเทป, เครื่องเล่นแผ่นเสียง, หรือเครื่องเล่นวิทยุ จากนั้นจะทำการขยายสัญญาณให้มีความแรงขึ้น ก่อนจะส่งสัญญาณที่ขยายแล้วไปยังลำโพง เพื่อใช้ในการขับลำโพงให้เกิดการเคลื่อนที่ของไดอะแฟรมและผลิตเสียงออกมา

เครื่องขยายเสียงสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามลักษณะของสัญญาณไฟฟ้าที่รับและส่ง เช่น

  • เครื่องขยายเสียงแบบอนาล็อก (Analog amplifier) ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าแบบอนาล็อก
  • เครื่องขยายเสียงแบบดิจิตอล (Digital amplifier) ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าแบบดิจิตอล
  • เครื่องขยายเสียงแบบไฮบริด (Hybrid amplifier) ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าแบบผสมผสานระหว่างอนาล็อกและดิจิตอล

นอกจากนี้ เครื่องขยายเสียงยังสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามจำนวนช่องสัญญาณที่รับและส่ง เช่น

  • เครื่องขยายเสียงแบบโมโน (Mono amplifier) ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าเพียงช่องเดียว
  • เครื่องขยายเสียงแบบสเตอริโอ (Stereo amplifier) ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าสองช่อง คือ ช่องซ้ายและช่องขวา
  • เครื่องขยายเสียงแบบมัลติแชนเนล (Multi-channel amplifier) ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้ามากกว่าสองช่องขึ้นไป

สำหรับข้อความที่ว่า “เครื่องขยายเสียงหรือเพาเวอร์แอมป์ ทำหน้าที่ขยายสัญญาณด้านเอ้าพุทให้มีขนาดที่ใหญ่กว่าสัญญาณที่อินพุทเข้ามา ก่อนต่อออกไปหา ลำโพง” นั้น สามารถขยายความได้ดังนี้

  • เครื่องขยายเสียงทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น โดยทั่วไป จะขยายสัญญาณไฟฟ้าให้มีความแรงขึ้น 10 ถึง 100 เท่า ขึ้นอยู่กับกำลังของเครื่องขยายเสียง
  • เครื่องขยายเสียงจะรับสัญญาณไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดสัญญาณ เช่น เครื่องเล่น CD, เครื่องเล่นเทป, เครื่องเล่นแผ่นเสียง, หรือเครื่องเล่นวิทยุ จากนั้นจะทำการขยายสัญญาณให้มีความแรงขึ้น ก่อนจะส่งสัญญาณที่ขยายแล้วไปยังลำโพง
  • ลำโพงจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าที่ขยายแล้วให้เป็นเสียงออกมา โดยทั่วไป ลำโพงจะประกอบด้วยไดอะแฟรมที่เคลื่อนที่ไปมาตามสัญญาณไฟฟ้าที่ได้รับ

ดังนั้น เครื่องขยายเสียงจึงเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญในระบบเครื่องเสียง โดยทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดสัญญาณให้มีความแรงขึ้น เพื่อให้ลำโพงสามารถขับเสียงออกมาได้ดังและชัดเจนยิ่งขึ้น

อุปกรณ์ประเภทนี้ ทำหน้าที่กำเนิดเสียง เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า เป็นพลังงานกลที่สามารถถ่ายทอดคุณภาพของเสียงให้เราได้ยิน ไม่ว่าจะเป็นย่านเสียงท้ม ย่านเสียงกลาง ย่านเสียงแหลม

ผลงานการติดตั้ง

ติดต่อสอบถาม

WEB SITE SWMEDIA

X